Neocell Hydra + Hyaluronic Acid Serum

Neocell  Hydra + Hyaluronic Acid Serum

สุดยอดผลิตภัณฑ์ เกรดพรีเมี่ยม รางวัลระดับโลก จาก Neocell Corp.

 
Hyaluronic Time release Serum  คือ ซีรั่มบำรุงผิวหน้า คงความชุ่มชื้น กระจ่างใส ด้วยเทคโนโลยี Liposome โมเลกุลขนาดเล็ก การดูดซึมเร็ว มีความคงตัวในการออกฤทธิ์และปกป้องผิวพรรณจากแสงแดดได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ร่วมกับ Neocell Collagen Radiance Serum เพื่อความสวยกระจ่างใสแลดูอ่อนวัย
ราคา  890 บาท
Description
• Penetrating Time Release Serum with Hyaluronic Acid
• Superior Hydration
• Advanced Skin Cell Turnover & Lubrication
• Paraben Free
Hyaluronic acid is essential in cell lubrication and hydration in the body and has been shown to help regulate cell turnover in the skin. Advanced HA Serum is paraben free and uses liposome technology to penetrate the skin and infuse it with NeoCell Advanced HA Serum in a time release formula.
Suggested Use
• Once or twice daily, gently smooth one pump-full of Advanced HA Serum on clean skin over face and neck before using daily moisturizers or sunscreen.

No Supplement Fact Information

Other Ingredients
• Purified water, phospholipids, tocopheryl acetate, ascorbyl palmitate, soluble collagen, acrylamide/sodium acryloyldimethyltaurate copolymer, isohexadecane, polysorbate 80, hyaluronic acid, butylene glycol, xanthan gum, tyrosine, proline, cysteine, zinc chloride, tangerine (citrus reticulata) oil, ethylhexylglycerin, caprylyl glycol, phenoxyethanol, hexylene glycol, potassium sorbate.
Warnings
• Avoid eye contact
Disclaimer
These statements have not been evaluated by the FDA. These products are not intended to diagnose, treat, cure, or prevent any disease.

ไลโปโซม  (Liposomes) เทคโนโลยีสื่อชั้นสูงที่ใช้ใน Neocell Serum ชนิดต่างๆ


ข้อมูลที่ 1

ไลโปโซม  (Liposomes) คือ อนุภาคขนาดเล็กมาก ที่มีลักษณะเป็นถุงกลมๆ ของสารไขมันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไขมันประเภท phospholipids ในสารละลายน้ำ
โมเลกุล ของสารไขมันประเภท phospholipids สามารถจัดเรียงตัวเป็นชั้นสลับกับชั้นโมเลกุลของน้ำในสารละลายน้ำได้ เพราะโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยทั้งส่วนมีขั้วและส่วนไม่มีขั้ว เมื่ออยู่ในน้ำจะจัดเรียงตัวโดยนำส่วนที่มีขั้วหรือมีประจุหันออกหาโมเลกุล น้ำ ในขณะเดียวกันจะเอาส่วนที่ไม่มีขั้วหันเข้าหาส่วนที่ไม่มีขั้วของโมเลกุลพวก เดียวกัน โดยจะอยู่ในลักษณะของการเรียงตัวเป็นแถวของโมเลกุลไขมันซ้อนกันเป็นสองชั้น หรือ lipid bilayer หากไลโปโซมมี lipid bilayer เพียงชั้นเดียว จะจัดเป็นไลโปโซมประเภท unilamellar หากไลโปโซมมี lipid bilayer มากกว่าหนึ่งชั้น(โดยมีชั้นของสารละลายน้ำกั้นอยู่ระหว่างผนังสองชั้น) จะจัดเป็นไลโปโซมประเภท multilamellar ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.1 micron(1000Å ซึ่งสามารถนำมาเตรียมเป็นไลโปโซมประเภท unilamellar ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 0.1 micron ได้
เนื่อง จากไลโปโซมมีส่วนประกอบและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับcell membrane ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจึงมีการพัฒนาไลโปโซมมาใช้เป็นตัวพาสารต่างๆเช่นยา เครื่องสำอาง เข้าสู่ร่างกาย และยังพบว่าสามารถควบคุมการกระจายตัวและการออกฤทธิ์ของสารที่ถูกกักไว้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
สาเหตุของไลโปโซมในการนำมาใช้เป็นตัวพาสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายมีดังนี้
  1. ไล โปโซมไม่เป็นพิษ เนื่องจากเตรียมได้จากไขมันซึ่งไม่เป็นพิษและเป็นส่วนประกอบของ cell membrane ในสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถถูกทำลายได้ในร่างกาย ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย แต่มีการศึกษาพบว่าถ้าใช้ไขมันที่ไม่บริสุทธิ์หรือใช้สารที่อาจทำให้เกิด อาการแพ้ในคน ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นได้
  2. ไลโปโซมช่วยเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกักเก็บ ป้องกันการสลายตัวของสารเคมีจากการถูกทำลายโดยสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นแสงUV, เอนไซม์
  3. ไล โปโซมช่วยลดความเป็นพิษของสารที่ถูกเก็บกัก จากการเลือกส่วนประกอบไขมันที่เหมาะสมและลดขนาดของไลโปโซมทำให้สามารถควบคุม การการะจายตัวและการออกฤทธิ์ของไลโปโซมที่เตรียมได้
  4. สา มารถให้ไลโปโซมเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ฉีดเข้ากล้าม ฉีดเข้าช่องท้อง การให้ทางปาก การสูดดมเข้าทางจมูกและปอด การใช้ทาทางผิวหนัง เป็นต้น
  5. ไลโปโซมสามารถเก็บกักสารต่าง ๆ ได้หลายชนิด
  6. สามารถดัดแปลงโครงสร้างของไลโปโซมได้ง่าย
  7. ไลโปโซมมีคุณสมบัติเป็น adjuvant ในการนำมาใช้เตรียมวัคซีน

ข้อมูลที่ 2

ไลโปโซม (Liposomes) คือ
อนุภาค ขนาดเล็กของสารไขมันเรียงซ้อนกันสองชั้นสลับกับชั้นของน้ำ ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพจะเป็นตัวช่วยเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกัก เก็บและเป็นตัวที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการนำพาสารที่ถูกกักเก็บสู่ ชั้นผิวที่ลึกขึ้น เป็นต้น
บทบาทและข้อดีของไลโปโซมในด้าน cosmetic
เครื่อง สำอางในปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับการป้องกันผิวหนังชั้นนอก (ชั้นหนังกำพร้า) ซึ่งเป็นชั้นผิวหนังที่ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกัน ผิวหนังจากสภาวะต่าง ๆ ภายนอก นอกจากนี้ยังเป็นตัวพาสารสำคัญออกฤทธิ์ที่จะไม่เป็นพิษและสามารถนำสารสู่ ชั้นคิวเตเนียส เทคโนโลยีไลโปโซมเป็นศาสตร์หนึ่งที่ได้มีการนำมาใช้ทางเครื่องสำอางเพื่อ พัฒนาเครื่องสำอางต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขั้น ทั้งนี้เนื่องจากไลโปโซม มีข้อดีหลายประการ ที่จะสามารถนำมาใช้ทางเครื่องสำอางคือ
  1. ไล โปโซมช่วยการซึมผ่านของสารที่เก็บกักอยู่ภายในเข้าสู่ขั้นเคอร์มีสได้จากการ ศึกษาโดยใช้เทคนิคการวาวแสง พบว่าไลโปโซมที่เก็บกักสาร Sodium (14C) Pyrrolidone carboseylate สามารถซึมผ่านผิวและช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ทั้งนี้เนื่องจากสารประกอบดังกล่าวเป็นสารให้ความชุ่มชื้นและสามารถดึงน้ำ เข้าผิวได้เมื่อเก็บกักในไลโปโซม แล้วยังพบว่าเปปไทด์ในไลโปโซมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ไฟโปรบลัสท์ (Fibroblast) ของผิวหนังได้เป็นสองเท่ามากกว่าเปปไทด์ที่มิได้เก็บกักในไลโปโซมและสามารถ ทำให้แผลหายเร็วขึ้นเป็น 4 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไลโปโซมสามารถช่วยในการซึมผ่านผิวหนังของเปปไทด์ได้มาก ขึ้น
  2. ไล โปโซมช่วยทดแทนไขมันบนผิวหนัง พบว่าไลโปโซมที่ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดและไกลโครฟิวโกลิปิดจะเป็นไลโปโซมที่คง ตัว และมีอัตราส่วนของไขมันที่คล้ายคลึงกับไขมันในผนังบุของเซลล์บุผิว (epidernalcell) จากการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพเคมีและรูปร่างของไลโปโซมที่มีส่วนประกอบ ไขมันดังกล่าวนี้ได้พบว่าไลโปโซมในรูปแบบโอลิโกลาเมลา (Oligolamellar) ซึ่งมีจำนวนผนังสองชั้น (double layer)มากกว่าหนึ่งชั้น แต่มีผนังชั้นน้อยกว่าประเภทมัลทิลาเมลา จะสามารถทดแทนไขมันดังกล่าวที่ผลทำให้การระเหยของน้ำออกจากผิวหนัง ลดลง ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังกลับสภาพคงเดิมและไม่ถูกทำลาย การที่ไลโปโซมสามารถช่วยฟื้นฟูผนัง ของเซลล์ที่ถูกทำลายไปนั้น เกิดจากการที่ไลโปโซมสามารถทดแทน เคอราติน (Keratin) ซึ่งเป็น โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง
  3. ไล โปโซมสามารถเก็บกักสารเคมีทางเครื่องสำอางได้มากมาย เช่น เครื่องสำอางประเภทลบรอยย่นเครื่องสำอางกลุ่มการปรับสีผิว และการปรับสภาพผิว วิตามินต่าง ๆ เครื่องสำอางที่ใช้กับผมและหนังศรีษะ โดยสารที่ถูกกักเก็บจะสามารถทนต่อการถูกชำระล้างออกจากผิวและสามารถใช้ไลโป โซมดังกล่าวนี้เป็นตัวพาสารให้ความชุ่มชื้นเข้าผิวที่แห้งได้
  4. ไลโป โซมช่วยให้ผิวมีความอ่อนนุ่ม โดยไลโปโซมช่วยให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทาง่ายไม่มีความฝืดเนื่องจากการที่ ไลโปโซมมีส่วนผสมของไขมัน ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไลโปโซม จะให้ความรู้สึกนุ่มละมุนในขณะที่ทาบนผิวหนัง และมีความลื่นทาง่ายขึ้น
  5.  ไล โปโซมจะช่วยลดการระคายเคืองต่าง ๆ จากการแพ้สารเคมีได้ ทั้งนี้เนื่องจากการกักเก็บสารเคมีต่าง ๆ ในไลโปโซมจะช่วยป้องกันมิให้สารเคมีเหล่านั้นสัมผัสกับผิวโดยตรงเป็นการช่วย ลดโอกาสในการแพ้และระคายเคืองต่อผิวหนัง

ข้อมูลที่ 3

ไล โปโซมมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น เป็นรูปทรงกลม ทรงรี ทรงลูกบาศก์ เป็นแผ่นพับไป-มา หรือรูปทรงหลายมิติ อาจจะประกอบด้วย bilayer ชั้นเดียว หรือหลายๆชั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของโมเลกุลไขมันฟอสเฟต อัตราส่วนของน้ำต่อไขมัน สารตัวเติม หรือวิธีการผลิตไลโปโซม นอกจากนี้ ไขมันฟอสเฟตที่จะนำมาผลิตไลโปโซมยังมีมากมายหลายร้อยชนิด ทั้งมีประจุเป็นบวก ประจุลบ และไม่มีประจุ อาจจะมีส่วนหางสายเดียว สองหรือสามสาย และมีความสั้น-ยาวต่างๆ ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะสร้างไลโปโซมชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมตามการใช้งาน
ประโยชน์และการใช้งานไลโปโซม
ด้วย ลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายเยื่อหุ้มเซลล์ตามธรรมชาตินี้เอง ไลโปโซมจึงสามารถนำส่งสารต่างๆ เข้าสู่เซลล์ได้ดี เนื่องจากโมเลกุลของไขมันฟอสเฟตใน bilayer (ของทั้งไลโปโซมและเยื่อหุ้มเซลล์) เคลื่อนที่กลับไป-มา (flip-flop) ในระหว่างชั้นได้เอง ทำให้เกิดการแลกแลกเปลี่ยน รวมตัว และพยายามจัดโครงสร้างใหม่ของโมเลกุลของไขมันฟอสเฟต และผลที่เกิดก็คือการหลั่งสารที่บรรจุไว้ในไลโปโซม การประยุกต์ใช้ไลโปโซมจำนวนมากจึงเกี่ยวข้องกับระบบนำส่ง (Delivery System) ของยา หรือสารสำคัญเข้าสู่ร่างกาย
  • นำส่งสารเข้าสู่ผิวหนัง (Transdermal Delivery)
การ ใช้ไลโปโซมสูตรที่เหมาะสมบางอย่าง สามารถเพิ่มการนำส่งสารเข้าสู่ผิวหนัง ชั้นผิวหนังแท้ (Dermis)ได้ดี แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจกลไกการทำงานที่แท้จริงของมัน จึงได้มีการใช้ไลโปโซมในสูตรเครื่องสำอางและยาผิวหนังอย่างแพร่หลาย Bilayer หลายๆชั้นของไลโปโซมสามารถปกป้องสารสำคัญที่เสียสภาพได้ง่ายในอากาศหรือใน น้ำ
  • นำส่งสารสู่เซลล์
เนื่อง จากขนาดที่เล็กระดับนาโนของไลโปโซม ทำให้มันเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้เร็วตามกลไกระบบภูมิคุ้มกันปกติของ ร่างกาย ดังนั้นการใช้ไลโปโซมจึงเหมาะสมในการรักษาโรคที่ต้องการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์ เม็ดเลือดขาว ดังตัวอย่างการรักษาการติดเชื้อ Leishmania ของเซลล์ Macrophage โดยการบรรจุยา Amphotericin B ลงระหว่างชั้น bilayer ของไลโปโซม
การดัดแปลงพื้นผิวไลโปโซมเพื่อการใช้งานนำส่งสารเข้าสู่เซลล์แบบต่างๆ
(A) ไลโปโซมทั่วไป ที่มีเฉพาะชั้นของไขมันฟอสเฟต
(B) Stealth liposomes มีการดัดแปลงพื้นผิวด้วยพอลิเมอร์ PEG เพื่อเพิ่มอายุในการหมุนเวียนในร่างกาย ไม่ให้ถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถผ่านผนังเซลล์หลอดเลือดฝอยในก้อนเนื้องอกได้ดีขึ้น
(C) Targeting liposomes มีการติดโมเลกุลของแอนติบอดี้ เพื่อการหาเป้าหมายที่จะนำส่งสารสำคัญภายในร่างกาย
(D) การเพิ่มโมเลกุล หรือ พอลิเมอร์ที่มีประจุบวก เพื่อนำสารพันธุกรรมแบบไม่ใช้ virus
• การทดสอบปฏิกริยาของยากับเยื่อหุ้มเซลล์ (Drug Testing) 
องค์ ประกอบผนังของของไลโปโซมสามารถเปลี่ยนแปลงให้มีความคล้ายกับเยื่อหุ้ม เซลล์ของคนหรือสัตว์หรือจุลินทรีย์ได้ ดังนั้นจึงมีการใช้ไลโปโซมในการทดสอบปฏิกิริยาของยา หรือการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์จำลอง เช่น เซลล์ผิวหนัง กระเพาะอาหาร สมอง ถุงน้ำดี ฯลฯ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาจำนวนมาก
• การปรับปรุงภาพถ่ายทางการแพทย์ (Image Enhancing) 
มี การใช้ไลโปโซมเพื่อให้ภาพถ่ายอวัยวะต่างๆทางการแพทย์มีความชัดเจนขึ้น โดยการติดโมเลกุลที่จะส่งสัญญาณให้เกิดภาพบนผิวของไลโปโซมขนาดเล็ก และเมื่อส่งไลโปโซมเหล่านั้นไปยังอวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ จะทำให้เกิดความคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายโดยใช้การสะท้อนของคลื่นเสียง (Ultrasound), MRI (Magnetic Rasonance Imaging) ไลโปโซมเหล่านี้ยังสามารถที่จะนำส่งยาเฉพาะที่ได้อีกด้วย
ข้อจำกัดของการใช้ ไลโปโซม
ไล โปโซมจะมีความคงตัวค่อนข้างต่ำจึงเก็บรักษายาก และเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่ายเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เนื่องจากไขมันฟอสเฟตแต่ละชนิดมีค่าอุณหภูมิในการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Glass Transition Temperature, Tg) ที่ไม่เท่ากัน และลักษณะที่เคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลาของไขมันฟอสเฟต อาจจะทำให้สารชนิดละลายน้ำได้ที่บรรจุอยู่ภายในรั่วไหลออกมาเองได้ นอกจากนั้นยังบรรจุยาได้ในปริมาณน้อย จึงมักใช้นำส่งสารมูลค่าสูง รวมทั้งเทคนิคการทำให้ปลอดเชื้อที่ต้องไม่ใช้ความร้อน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไลโปโซมมีราคาแพง
ไลโปโซม มีอันตรายหรือไม่?
ยัง ไม่พบรายงานถึงอันตรายต่อสุขภาพที่เป็นผลมาจากไลโปโซมเอง เนื่องจากไขมันฟอสเฟตเป็นสารที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย ไขมันฟอสเฟตที่มีจำหน่ายเป็นการค้าเพื่อนำมาผลิตไลโปโซมส่วนใหญ่เป็นสารสกัด จากไข่และน้ำมันพืช ไลโปโซมโดยทั่วไปมีอายุค่อนข้างสั้น และจะถุกกำจัดไปอย่างรวดเร็วโดยระบบภูมิคุ้มกัน สำหรับไลโปโซมที่มีการดัดแปลงให้มีอายุในการหมุนเวียนยาวขึ้นก็จะถุกกำจัด ได้ที่ตับและม้ามโดยกลไกปกติของร่างกาย อีกทั้งขนาดของการใช้ไลโปโซมจะน้อยมาก ทำให้ไม่มีปัญหาการสะสมไขมันจนอยู่ในระดับอันตรายได้
ใน ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาบรรจุไลโปโซมจำนวนมากที่มีการผลิตในระดับการค้า เช่น Amphotericin B, Doxorubicin, Daunorubicin รวมทั้งในเครื่องสำอางชนิดต่างๆ เป็นต้น และสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอางและการวิจัยทางการแพทย์อย่างมากมาย แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางประการ แต่เมื่อใช้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทางวัสดุพอลิเมอร์ โดยการดัดแปลงคุณสมบัติของพื้นผิวก็จะทำให้การออกแบบระบบการใช้ไลโปโซมเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ งานวิจัยการใช้งานไลโปโซมของคณะวิศวกรรมศาสตร์กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ที่ห้องวิจัยวิศวกรรมชีวเคมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น